วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รถยนต์ที่มาจากฝรั่งเศส (ซีตรอง)


André Gustave Citroën เกิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1878 ณ กรุงปารีส เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวน 5 คนของ Lévie Citroën นักธุรกิจค้าอัญมณี ชาวฮอลแลนด์ กับ Amalie Kleimmann มารดาชาวโปแลนด์ บิดาเสียชีวิต ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.1884 เมื่อเขาอายุเพียง 6 ขวบ โดยมารดาเข้าดูแลธุรกิจ และเลี้ยงดูบุตรสืบมา
ชื่อสกุล Citroën มีที่มาจากปู่ของ André ที่อาศัยอยู่ชาน กรุงอัมสเตอร์ดัม ซึ่งประกอบอาชีพค้าขายผลไม้จำพวกมะนาว เดิมใช้ชื่อสกุลว่า “Lemeonman” ซึ่งมีความหมายตรงตัว ต่อมา แต่งงานกับย่าของ André และเปลี่ยนอาชีพ หันมาดำเนินธุรกิจค้าขายอัญมณี จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อสกุลมาใช้คำว่า Citroën เป็นภาษาฮอลแลนด์ หมายถึง มะนาว เพื่อให้ดูสละสลวยและแสดงถึงการยกระดับฐานะทางสังคม ต่อมา André เข้าเรียนที่ Concordet High School ในปีค.ศ.1885 ด้วยหลักไวยากรณ์ทางภาษา จึงเพิ่มตัว “ë” เข้าไปในชื่อสกุล และกลายมาเป็น “Citroën” จนถึงปัจจุบัน

ช่วงรับราชการอยู่ในกองทัพ André เดินทางไปเยี่ยมญาติที่เมือง Lodz ในโปแลนด์ และพบว่าที่นั่นมีการใช้ ชุดฟันเฟืองเกียร์ที่ทำจากไม้ [Wooden Double Helical Gears] ใช้สำหรับขับเคลื่อนเครื่องจักรกลต่างๆ อาทิ เครื่องทอผ้า เครื่องสูบน้ำ ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีเสียงดังรบกวน สามารถถ่ายเทน้ำหนักได้โดยปราศจากอาการชำรุด แม้ว่าจะทำจากไม้ เขาเห็นความเป็นไปได้ และข้อได้เปรียบหากว่าเฟืองเกียร์ผลิตขึ้นจากเหล็กกล้า จึงได้ศึกษาและเก็บรายละเอียดต่างๆ ไว้ ต่อมาเมื่อเขาลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ.1904 เขาได้ซื้อลิขสิทธิ์ “การผลิตชุดฟันเฟืองเกียร์ด้วยเหล็กกล้า” ซึ่งมีผู้ยื่นจดไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว เพื่อนำมาออกแบบ และผลิตขึ้นใหม่ โดยมีฟันเฟืองเกียร์เป็น รูปบั้งคู่ [Double Helical Chevron Gear] และกลายมาเป็นโลโก้บริษัทของเขาในเวลาต่อมา ทั้งนี้เขายังได้ยื่นจดลิขสิทธิ์ระบบเกียร์ของเขาไว้ด้วย
André เริ่มต้นธุรกิจผลิตฟันเฟืองเกียร์ ในชื่อว่า “Engrenages Citroën” ตั้งอยู่ที่ Fauburg St Denis ซึ่งประสบผลสำเร็จ อย่างรวดเร็ว ต่อมาได้ร่วมกับ André Boas และ Jacques Hinstin ตั้งบริษัทขึ้นใหม่ในปีค.ศ.1905 ใช้ชื่อ “Hinstin Freres Citroën & Cie” และย้ายมาตั้งที่ Essonnes [Orly] ขณะนั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ในฝรั่งเศส กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการใช้งานชุดฟันเฟืองเกียร์มีปริมาณสูงขึ้นตามไปด้วย เขาจึงพัฒนาระบบการผลิตเฟืองเกียร์ แบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ [Mass Production] ซึ่งทำให้ผลิตสินค้าได้ในปริมาณมาก ขณะที่ราคาสินค้าต่ำลง ทั้งยังมีความรวดเร็วในการผลิตมากยิ่งขึ้น เขาลงทุนในเครื่องจักรอันทันสมัย รวมถึงปรับปรุงระบบควบคุมการจัดการให้คล่องตัวมากขึ้น ระบบเกียร์ของ Citroën ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย กับรถส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสขณะนั้น ทั้งยังเป็นผู้ผลิตระบบเกียร์ให้กับ เรือโดยสารไททานิค และถูกนำไปติดตั้งในรถยนต์ Rolls-Royce อีกด้วย

ช่วงระยะเวลา 5 ปีนับจากที่ได้ก่อตั้ง “Engrenages Citroën” เป็นที่ยอมรับกันว่า André Citroën คือผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ในอุตสาหกรรมรถยนต์ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1910 บริษัทเขามีเงินสดหมุนเวียนถึง 1 ล้านฟรังซ์ และยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดี กับผู้ผลิตรถยนต์อีกหลายราย หนึ่งในนั้นคือ “Societe Nouvelle Des Automobiles Mors” หรือ “มัวส์” บริษัทผู้ผลิตรถที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงเปลี่ยนศตวรรษใหม่ และจากการแต่งงานระหว่าง พี่ชายของ André กับ ลูกสาวของ Harbleisher ประธานบริษัทมัวส์ สายสัมพันธ์ครั้งนี้ทำให้ Citroën ถูกว่าจ้างให้ผลิตเครื่องยนต์จำนวน 500 เครื่องให้กับโรงงานแห่งใหม่ของบริษัท “Sizaire Nurdin” ณ ท่าเรือ Quai Grenelle
ต่อมา เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในฝรั่งเศส ยอดขายรถยนต์ของมัวส์ ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่า ความต้องการในตลาดยังคงมี แต่กำลังการผลิตตกลงไป อยู่ที่ 10 คันต่อเดือน ด้วยชื่อเสียงของ André ที่เชี่ยวชาญในการผลิต 'แบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่' ทำให้ได้รับคำเชิญจากประธานบริษัทมัวส์ ให้มาดำรงตำแหน่งเป็น 'กรรมการผู้จัดการบริษัท' เขาตอบตกลง และวางมือจากธุรกิจผลิตเกียร์ ทั้งยังได้ชักชวน George Haardt ผู้ช่วยเขาให้เข้ามาร่วมงานด้วย เขาลงมือแก้ไขระบบการผลิต และการจัดการอย่างรวดเร็ว ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมีกำลังผลิตอยู่ที่ 100 คันต่อเดือน ในปี ค.ศ.1913 ช่วงนั้น ธุรกิจผลิตเฟืองเกียร์ของ André ยังก้าวหน้าไปด้วยดี ถึงแม้เขาจะไม่อยู่ดูแลก็ตาม ต่อมาเขาได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตรถยนต์ ของ Henry Ford ที่ดีทรอยต์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกออกแบบพื้นที่การผลิตภายในโรงงานแตกต่างจากมัวส์ คือ ที่มัวส์จะมีการแบ่งพื้นที่การผลิต ของแต่ละฝ่าย เป็นสัดส่วนตามชั้นต่างๆ ภายในอาคารโรงงาน แต่ที่โรงงานของ Ford ทุกฝ่ายการผลิต จะทำงานอยู่ภายในชั้นเดียวกัน ซึ่งถูกออกแบบ ให้มีขนาดพื้นที่ที่กว้างขวาง และเต็มไปด้วยแสงสว่าง ทำให้เขาเห็นถึงประโยชน์ จากความคล่องตัวในการผลิต และได้วางแผน ที่จะขยายโรงงานผลิตเกียร์ของเขาเอง จึงได้ก่อตั้ง บริษัท “Société des Engrenages A. Citroën” ขึ้น ที่ท่าเรือ Quai de Grenelle


เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1914 André ได้เข้าพิธีสมรสกับ Georgina Bingen บุตรสาวนายธนาคารชาวอิตาลี Gustave Bingen ที่ย้ายมาพำนักในฝรั่งเศส ถัดมาไม่นาน สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เริ่มขึ้น เขากลับเข้าสู่กองทัพอีกครั้งในตำแหน่ง ผู้บังคับบัญชากองทหารปืนใหญ่ ต่อมาเกิดภาวะขาดแคลนกระสุนปืนใหญ่ เขาเห็นถึงโอกาสที่จะนำเอาระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาใช้ จึงทำแผนงานเสนอผ่านทางเพื่อนเก่า Louise Loucher ผู้ที่สนิทกับรัฐมนตรีกระทรวงยุทธภัณฑ์ Albert Thomas และผ่านเรื่องไปยังผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ นายพล Banquet ซึ่งเห็นชอบ และอนุมัติทันที เขาซื้อที่ดินเปล่าขนาด 30 เอเคอร์แถบท่าเรือ Quai de Javel ที่กรุงปารีส ในปีค.ศ.1915 เพื่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่และสั่งซื้อเครื่องจักรที่จำเป็นจากอเมริกา นอกจากระบบผลิตที่ทันสมัยแล้ว ภายในโรงงาน ยังประกอบด้วยร้านค้า โรงอาหาร สถานพยาบาลและสาธารณูปโภคต่างๆ สำหรับคนงานกว่า 12,000 คน ซึ่งแสดงถึงความห่วงใยในสวัสดิการของคนงาน รวมถึงการจ่ายเงินชดเชยแก่คนงานหญิงที่ตั้งครรภ์หรือขณะพักรักษาตัว เขายังได้ริเริ่มแนวคิดเรื่อง บัตรปันส่วนอาหาร [Food Rationing Card] และนำมาใช้จนประสบผลสำเร็จ ทำให้ André เป็นที่ชื่นชอบของคนงานและได้กำลังผลิตที่มีประสิทธิภาพตามมา ขณะที่สงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้น โรงงานของเขาสามารถผลิตกระสุนปืนใหญ่ ได้ถึง 35,000 นัดต่อวัน ขณะที่โรงงานอื่น ผลิตได้เพียง 20,000 นัดต่อวัน จึงถูกโอนย้ายมาอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเขาทั้งหมด
3 ปีต่อมาสงครามยุติลง พร้อมกับความต้องการกระสุนปืน André ครุ่นคิดว่าจะทำอย่างไรกับโรงงานกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังผลิตที่มหาศาล ในขณะนั้นการผลิตรถยนต์ในฝรั่งเศสยังใช้แรงงานคนเป็นหลัก ทำให้รถยนต์มีราคาแพง เขาเห็นถึงความเป็นไปได้ ที่จะผลิตรถยนต์แบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้รถยนต์มีราคาถูกลง เป็นรถยนต์สำหรับคนทั่วไป มิใช่สินค้าเฉพาะผู้มีอันจะกินเท่านั้น เขาไม่ ใช่นักออกแบบ และมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับรถยนต์ไม่มากนัก จึงต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาดูแลงานในส่วนนี้ โดยเขาจะเป็นผู้กำหนดแนว คิด ดูแลด้านการตลาด และกระบวนการผลิต

ช่วงต้นปี ค.ศ.1917 André ได้พบกับ Artauld และ Dufresne สองวิศวกรซึ่งเคยทำงานให้กับบริษัท Panhard ทั้งคู่ออกแบบรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ 3 ลิตร 16 แรงม้า โดยเขาสร้าง รถยนต์ต้นแบบ [Prototype] ขึ้น 3 คัน และถูกทดสอบอย่างหนักเป็นเวลานาน ที่สุดแล้ว เขาไม่เชื่อมั่นในขนาดของรถที่ใหญ่เกินไป จะเป็นผลดีหากรถมีขนาดที่เล็กลง ซึ่งจะทำให้ราคาถูกลง และสามารถทำยอดขายเพิ่มมากขึ้นได้ จึงขายรถยนต์ต้นแบบเหล่านั้นให้แก่เพื่อนของเขา Gabriel Voisin ผู้ซึ่งนำไปพัฒนาต่ออีกทีหนึ่ง
รถที่ André ให้ความสนใจนั้น ถูกผลิตขึ้นก่อนสงครามโดยบริษัท Le Zébre เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ใช้เครื่องยนต์ขนาด 4 สูบ ออกแบบโดย Jules Salomon นายทหารเทคนิคประจำกองทัพที่เขารู้จักในช่วงสงคราม เขาชวนให้ Salomon ลาออก เพื่อมาออกแบบรถยนต์คันแรกให้กับ Citroën และร่วมมือกับ George Haardt ในการปรับปรุงโรงงาน Salomon ได้ออกแบบรถยนต์ 4 ที่นั่งติดตั้งเครื่องยนต์ 4 สูบ 1,327 ซีซี 18 แรงม้า ผลิตเป็นรถต้นแบบ 30 คันให้ชื่อว่า A Type ตัวรถเบาเพียง 990 ปอนด์ ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง วิ่งได้ 35 ไมล์ โดยใช้น้ำมันเพียง 1 แกลลอน มีความเร็วสูงสุด 65 ไมล์ต่อชั่วโมง
4 เดือนหลังจากสงครามยุติ โรงงานที่ Quai de Javel ถูกเปลี่ยนมาใช้ในการผลิตรถยนต์ และใช้ชื่อใหม่ว่า “S.A. André Citroën” รถยนต์ A Type เข้าสู่สายการผลิต เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1919 มีการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ แจ้งข่าว การเปิดตัวรถยนต์คันใหม่ “Citroën A Type” ระบุว่าเป็นรถยุโรปคันแรกที่ใช้การผลิตแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตั้งราคาไว้ที่ 7,950 ฟรังซ์ซึ่งถูกกว่าคู่แข่งทุกราย มียอดจองเข้ามาถึง 30,000 คัน ก่อนที่รถยนต์คันแรกจะถูกส่งมอบให้แก่นาย Testemolle de Beaulieu ที่เมือง Dordogne วันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1919 ช่วงแรก ผลิตได้เพียง 30 คันต่อวัน ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 12,500 ฟรังซ์ และสามารถผลิตเพิ่มเป็น 100 คันต่อวัน ในช่วงต้นปี ค.ศ.1920 จนกระทั่ง ทำยอดผลิตรวม ถึง 20,000 คัน ในปี ค.ศ.1921 ซึ่งมากกว่ายอดผลิตของ Peugeot และ Renault รวมกัน หลังจากนั้นไม่นานเขาจึงเริ่มโครงการพัฒนารถยนต์รุ่นต่อไป Citroën B Type


André ได้จัดตั้ง 'ตัวแทนจำหน่าย' กว่า 1,000 รายทั่วประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งยังได้จัดพิมพ์ 'คู่มือดูแลรถ' และ 'แค็ตตาล็อกอะไหล่' มอบให้แก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์ Citroën นอกจากนี้เขายังทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และได้จัดตั้งสำนักพิมพ์ขึ้นในชื่อว่า “André Citroën Editions” เขาได้เริ่มสิ่งใหม่ๆ ขึ้นตามมา อาทิ จัดตั้งบริษัทเงินทุนที่เน้นให้บริการสินเชื่อรถยนต์ขึ้นเป็นแห่งแรก จัดตั้งบริษัทด้าน ประกันภัยรถยนต์ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มผลิต 'แบบจำลองรถขนาดย่อส่วน' เพื่อใช้ในการทำประชาสัมพันธ์ ต่อมาถูกพัฒนาขึ้น จนกลายเป็นอุตสาหกรรมของเล่นเด็กซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 ล้านฟรังซ์
รถยนต์ Citroën รุ่นถัดมา 'B2 Type' เปิดตัวในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1921 ถูกพัฒนาขึ้นจากรุ่นเดิมเล็กน้อย ติดตั้งเครื่องยนต์ 1,452 ซีซี 20 แรงม้า โดย A Type ถูกลดกำลังผลิตลงและแทนที่ด้วย B2 Type โดยมีกำลังผลิตมากกว่า 300 คันต่อวัน จนหยุดการผลิตลงในปี ค.ศ.1927 ด้วยยอดผลิตรวมทั้งสิ้น 72,356 คัน
ในช่วงแรกนั้นรถยนต์รุ่น B Type ถูกผลิตขึ้นโดยใช้โครงสร้างไม้ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนตัวถังที่ทำจากเหล็ก ต่อมา André ได้นำกระบวนการ ผลิตแบบ “โครงสร้างเหล็กทั้งคัน” มาใช้ในปี ค.ศ.1924 ขึ้นเป็นครั้งแรกในยุโรป ซึ่งเทคนิคการผลิตนี้ เพิ่งเริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกา การผลิตเริ่มจากนำแผ่นเหล็กมาปั๊มขึ้นรูป เป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของรถ แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ก่อนนำไปประกอบเข้ากับ โครงรถ [Chassis] ที่ทำจากเหล็กกล้า เทคนิคนี้นอกจากจะสร้างชื่อเสียง และผลสำเร็จทางการตลาดแล้ว ยังทำให้รถมีความแข็งแรงและเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น B10 Type เป็นรถยนต์รุ่นแรก ที่ใช้โครงสร้างเหล็กทั้งคัน ถูกผลิตขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ.1925 โดยใช้เวลาผลิตมากขึ้นกว่ารุ่นเดิมถึง 2 เท่าครึ่ง และพบปัญหาการบิดตัวของโครงสร้างเหล็ก ด้วยการแก้ไขครั้งแล้วครั้งเล่า นำไปสู่ความสำเร็จในรถรุ่นต่อไป B12 Type ซึ่งมีขนาดกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม ปี ค.ศ.1926 B14 Type ปรากฎตัวในงาน “Salon del Automobile” ที่กรุงปารีส ใช้เครื่องยนต์ขนาด 1,538 ซีซี 22 แรงม้า โดยมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นถึง 400 คันต่อวัน



B14 Type เป็นรถยนต์ Citroën รุ่นสุดท้ายที่ออกแบบโดย Jules Saloman ก่อนที่จะลาออกไป เพื่อทำงานให้กับ Peugeot ระยะหนึ่งแล้วจึงไปร่วมงานกับ Lucien Rosengart ในเวลาต่อมา ขณะนั้นโรงงานของ André มีพนักงานทั้งสิ้น 35,000 คนและตั้งสาขาในประเทศอื่นๆ อีก 11 แห่ง รถยนต์รุ่นถัดมาเปิดตัวในปี ค.ศ.1922 Citroën เลือกที่จะผลิตรถยนต์ 2 ที่นั่งที่มีขนาดเล็กลง ติดตั้งเครื่องยนต์ 856 ซีซี ออกแบบโดย Edmond Moyet ใช้ชื่อรุ่นว่า C Type หรือ 5CV ย่อจาก “5 Chevaux Vapeur” หมายถึง 5 แรงม้าในมาตราฝรั่งเศสซึ่งเท่ากับ 11 แรงม้าปกติ นำออกแสดงครั้งแรกที่ งานปารีส มอเตอร์โชว์ 1921
'Le Petit Citroen' หรือ 'มะนาวผลเล็ก' คือฉายาของ C Type รุ่นแรก ในแบบ Tourer Torpedo 2 ที่นั่ง ตัวรถมีสีเหลืองมะนาวที่โดดเด่น ต่อมาถูกพัฒนาขึ้นเล็กน้อยในรุ่น C2 Type จนกระทั่งตุลาคม ปี ค.ศ.1924 การมาของ C3 Type ที่มีชื่อเสียงซึ่งมาพร้อมกับที่นั่งตำแหน่งที่ 3 ทางด้านหลัง เมื่อมองตำแหน่งการวางที่นั่งจากด้านบน จะเห็นเป็นรูปดอกจิก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ 'Le Trefle' หรือ 'Cloverleaf' แม้ว่ารถยนต์รุ่นนี้จะประสบผลสำเร็จอย่างสูง จนได้รับการยกย่องจากนักสะสมรถทั่วโลก ตราบจนถึงปัจจุบัน ในชื้อที่รู้จักกันดีอีกชื่อว่า 'Cul de Poule' หรือ 'เจ้าตูดไก่' เนื่องจากส่วนท้ายรถที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ได้หยุดผลิตลงในปี ค.ศ.1926 โดยถูกแทนที่สายการผลิตด้วยรุ่น B Type ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด และให้ผลกำไรที่ดีกว่า
ในช่วงนั้นเองที่มีการพัฒนา ระบบ Half-Track โดย Adolphe Kégresse ซึ่งสามารถนำมาติดตั้งได้ในรถยนต์ธรรมดา เพื่อการใช้งานที่สมบุกสมบัน หรือใช้ภายในกองทัพ Kégresse ร่วมกับ Citroën และ Hinstin นำระบบนี้มาติดตั้งในรถยนต์ Citroën A Type และ B Type ต่อมาได้ตั้ง คณะเดินทางสำรวจข้ามทวีป ขึ้น เพื่อทำการทดสอบสมรรถนะของรถ โดยการเดินทางครั้งสำคัญและที่มีชื่อเสียง ได้แก่ การเดินทางข้ามทะเลทรายซาฮาร่าสู่เมือง Timbuktu ทวีปแอฟริกา ในปี ค.ศ.1922 การเดินทางข้าม ทวีปแอฟริกา จากทิศเหนือสู่ทิศใต้ในปี ค.ศ.1924 และการเดินทางจาก กรุงเบรุต เลบานอน ตามรอยเท้า 'มาร์โคโปโล' ผ่าน 'เส้นทางสายไหม' สู่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี ค.ศ.1931

'งานปารีสมอเตอร์โชว์ 1926' ที่จัดขึ้นในเดือนตุลาคม นอกจากเป็นงานที่ André ใช้เปิดตัวรถยนต์ Citroën รุ่นใหม่ 2 รุ่นแล้วยังเป็นช่วงเวลาสำคัญที่รถยนต์ Citroën ได้ถูกผลิตออกมาโลดแล่นบนท้องถนนถึงกว่า 3 แสนคัน มีการทุ่มงบโฆษณา ด้วยการประดับไฟนับพันดวงบน 'หอไอเฟล' เป็นตัวอักษรคำว่า 'CITROËN' ในช่วงระหว่างงาน 'International Exhibition of Decorative Art' และ ยังเป็นสิ่งเดียวที่ Charles Linbergh เห็นในความมืดมิด และรับรู้ได้ว่ากำลังบินอยู่เหนือน่านฟ้า กรุงปารีส ในตอนเย็นวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1925 ขณะที่เขากำลังทำการบินครั้งประวัติศาสตร์ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
C4 Type และ C6 Type รถยนต์รุ่นใหม่ ที่ตั้งชื่อรุ่นตามขนาดเครื่องยนต์ C4 Type ใช้เครื่องยนต์ขนาด 4 สูบ 1,628 ซีซี ขณะที่ C6 Type ใช้เครื่องยนต์ขนาด 6 สูบ 2,442 ซีซี และเป็นรถยนต์แบบ 6 สูบรุ่นแรกที่ Citroën ผลิตขึ้น โดยมีขนาดที่กว้างขวาง และมีรูปลักษณ์ทันสมัย เช่นเดียวกับรถอเมริกันขนาดกลาง เนื่องจากทั้งสองรุ่นนี้มีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน C6 Type จึงถูกพัฒนาให้มีความหรูหรามากขึ้นกว่าเดิม ในรุ่น C6E Type เพื่อให้มีความแตกต่างจาก C4 Type อย่างชัดเจนมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1932 André ซื้อลิขสิทธิ์เทคโนโลยี 'Floating Engine' หรือ 'Floating Power' จาก Chrysler บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกัน แต่คิดค้นขึ้นโดยสองวิศวกรชาวฝรั่งเศส Lemaire และ Daubarès ผู้เชี่ยวชาญด้านความสั่นสะเทือน เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดการสั่นสะเทือนของตัวรถ ที่เกิดจากการสั่นของเครื่องยนต์ซึ่งถูกวางไว้บนโครงรถ โดยการเสริม 'แท่นยาง' ที่ออกแบบขึ้นพิเศษ เพื่อดูดซับแรงสะเทือนไว้ใต้เครื่องยนต์ ช่วยให้การขับขี่มีความนุ่มนวลมากยิ่งขึ้น André นำเทคโนโลยีนี้ มาใช้กับ C4 Type และ C6 Type ในช่วงสุดท้ายของการผลิต โดยติดสัญลักษณ์ไว้เป็นรูป 'หงส์ลอยเหนือน้ำ' ต่อมา Lemaire ได้เข้ามาร่วมงาน และพัฒนาระบบกันสะเทือนที่มีชื่อเสียงให้กับ Citroën ช่วงเวลา 6 ปีที่ C4 Type และ C6 Type อยู่ในสายการผลิต นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างสูงยิ่ง โดยปี ค.ศ.1934 C4 Type มียอดการผลิตทั้งสิ้น 243,068 คัน และ C6 Type ถูกผลิตออกมาทั้งสิ้น จำนวน 61,273 คัน


ช่วงต้นทศวรรษที่ 30 การลงทุนอย่างมหาศาลในกระบวนการผลิตขนาดใหญ่ และสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง ทำให้ André ชะลอการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ออกไป จนกระทั่งใน งานปารีส มอเตอร์โชว์ 1932 รถยนต์ Citroën รุ่น 8CV Type, 10CV Type และ 15CV Type ถูกเปิดตัวด้วยรูปลักษณ์ที่สุดหรูหรา ความรู้ด้านโครงสร้างเหล็กถูกพัฒนาเป็นเทคโนโลยีโครงสร้างแบบ 'Single Unit' โดยตัวถังรถซึ่งมีความซับซ้อน ถูกผลิตขึ้นจากการนำชิ้นส่วนย่อยๆ 2 ชิ้น มาประกอบเข้าเป็นหนึ่งหน่วยแล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นตัวถังรถยนต์ทั้งคันโดยอัตโนมัติ ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ทำให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับรถยนต์รุ่นก่อนหน้านี้
8CV Type มีขนาดเล็กที่สุดในจำนวน 3 รุ่นนี้ ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 1,452 ซีซี เป็นรถยนต์รุ่นแรกที่ติดตั้ง ระบบเกียร์ 2 จังหวะ และ ได้รับฉายาว่า 'Rosalies' จากการทำลายสถิติการแข่งขัน 'Motlhéry' ซึ่งจัดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสหลายต่อหลายครั้ง โดยที่มีชื่อเสียงที่สุด คือรายการ 'Petit Rosalie' ใช้เวลาแข่ง 134 วัน ระยะทางทั้งสิ้น 2 แสนไมล์ ความเร็วเฉลี่ย 57.8 ไมล์ต่อชั่วโมง ช่วงแรกนั้นที่ด้านหน้ารถของ Rosalies ไม่ได้ติด 'เครื่องหมายบั้งคู่' หรือ 'Chevron' อันเป็นสัญลักษณ์ของ Citroën จนกระทั่งปี ค.ศ.1932
แม้ Rosalies จะมีรูปทรงที่หรูหราและสง่างาม แต่ก็ประสบปัญหาเรื่อง หลักพลศาสตร์ [Aerodynamic] คือ มีการต้านแรงลมมากเกินไป เนื่องจากการลงทุนมหาศาลที่ผ่านมา ทำให้ André ไม่มีเงินพอที่จะพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่นๆ จึงใช้วิธีดัดแปลงส่วนต่างๆ ของรถ เพื่อแก้ไขปัญหา เชื่อกันว่านี่คือผลงานชิ้นแรกของ 'Flaminio Bertoni' นักออกแบบอัจฉริยะ ผู้เข้ามาร่วมงานกับ Citroën ในเดือนกรกฎาคมปีค.ศ. 1932 Bertoni แก้ไขส่วนหน้าของรถให้มีความลาดเอียงมากขึ้น และออกแบบกันชนด้านหน้าให้โค้งมน Rosalies ที่ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ใช้ชื่อว่า 'NH' ซึ่งย่อมาจาก 'Nouvel Habillage' และยังติดตั้งเทคโนโลยี 'Freewheel System' ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Chenard et Walcker ภายใต้ลิขสิทธ์ของบริษัท Studebaker ทั้งนี้ Rosalies อยู่ในสายการผลิตจนถึงปี ค.ศ.1941 ด้วยยอดผลิตกว่าแสนคัน และเป็นรุ่นสุดท้ายของ Citroën ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า



ปัญหาด้านการเงินของบริษัทเริ่มส่อเค้าขึ้นในปี ค.ศ.1931 เมื่อ André ใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลไปในการขยายธุรกิจ และซื้อเทคโนโลยีใหม่ๆ จากประเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาใช้ในกระบวนการผลิต ในปีนี้เองที่เขาเปิดโชว์รูมแห่งใหม่ซึ่งมีพื้นที่ถึง 15,000 ตร.ม.โดยเช่าอาคารคลังสินค้าที่สถานีรถไฟ St Lazareในเดือนเมษายน เขาปรับปรุงโรงงานครั้งใหญ่ที่ Quai de Javel โดยขยายพื้นที่ออกไปถึง 120,000 ตร.ม. ใช้โครงสร้างเหล็กกล้า มากกว่า 12,500 ตัน และ จัดงานเลี้ยงรับรองแขกกว่า 6 พันคน ทั้งนี้ เงินที่ใช้จ่ายมาจากการกู้ยืมทั้งสิ้น โดยมีบริษัท 'Michelin' เป็นผู้ให้กู้ยืมรายใหญ่
ในที่สุด André ก็ได้รับบทเรียน ซึ่งสายเกินกว่าจะแก้ไข รถยนต์รุ่นถัดมา 'Traction Avant' ซึ่งหมายถึง 'รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า' คือ ความล้มเหลวครั้งแรกและครั้งเดียว แต่กลับนำความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่คืนมาสู่บริษัทได้ในภายหลัง Traction Avant อยู่ในสายการผลิตนานถึง 23 ปี ยอดผลิตทั้งสิ้นกว่า 7 แสนคัน จนกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับ หอไอเฟล และ มูแร็งรูจ ถูกเลือกใช้เป็นรถประจำกรมตำรวจ Migret และกองตำรวจลับ Gestapo ของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ไม่รวมถึงบุคคลสำคัญทั่วโลกกว่าแสนคน ที่เลือกใช้รถรุ่นนี้เป็นพาหนะประจำตัว ทว่า การมาของรถรุ่นนี้ได้กลืนกินบริษัท และทรัพย์สินทั้งหมดของ André และนำเขาไปสู่ความตาย
Traction Avant มีที่มาจากแรงบันดาลใจ 2 สิ่ง สิ่งแรกคือ รถยนต์ต้นแบบของ Joseph Ledwinka แห่งบริษัท Budd ที่ฟิลาเดลเฟีย ผลิตขึ้นในปี ค.ศ.1931 ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และมีโครงสร้างแบบ Intergral Chassi อีกสิ่งคือ รถยนต์ต้นแบบซึ่งผลิตขึ้นโดย Gabriel Voisin และ André Lefèbvre ในเมือง Issy-les-Moulineaux ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าและติดตั้งเครื่องยนต์ขนาด 3.2 ลิตรไว้ ถึงแม้ว่ามหาสมุทรจะแยกการค้นคว้าทั้งสองที่ออกจากกัน แต่ André ก็เป็นผู้เชื่อมโยงทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน โดยปี ค.ศ.1923 ที่เขาซื้อลิขสิทธิ์โครงสร้างเหล็กจากบริษัท Budd เพื่อนำมาใช้ในการผลิต ช่วงแรกตัวถังรถจะถูกผลิตขึ้นที่ฟิลาเดลเฟีย หลังจากที่ปรับปรุงระบบการผลิตที่โรงงานเสร็จสิ้น และมีการส่งมอบเครื่องจักร รวมถึงแม่พิมพ์ชิ้นส่วนแล้ว Citroën จึงเริ่มผลิตตัวถังเอง นับแต่นั้นเมื่อ André เดินทางไปสหรัฐครั้งใดก็จะแวะไปเยือนบริษัท Budd เสมอ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาจะเคยได้เห็นรถยนต์ต้นแบบของ Ledwinka ทีนั่นเอง



ในปี ค.ศ.1931 André ได้พบกับ André Lefèbvre และทราบถึงโครงการรถยนต์ต้นแบบที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าที่ Lefèbvre พัฒนาร่วมกันกับ Voisin ช่วงนั้นเองที่เขาคิดว่าถึงเวลาที่จะพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่แล้ว จึงได้ว่าจ้าง Lefèbvre ให้เป็นผู้รับผิดชอบ แต่ต่อมาแผนการผลิตถูกระงับลง ทำให้ Lefèbvre จากไปร่วมงานกับบริษัท Renault ที่ซึ่งเขาพบกระแสคัดค้าน จึงได้กลับมาที่ Citroën อีกครั้งพร้อมผู้ช่วยของเขา Maurice Sainturat และแผนงานรถต้นแบบ Traction Avant ซึ่งถูกออกแบบขึ้นใหม่ทั้งหมด
André ใช้เงินจำนวนมากไปกับการค้นคว้าพัฒนาและซื้อลิขสิทธิ์เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำมาใช้กับ Traction Avant รถยนต์ที่มีความซับซ้อน ใช้โครงสร้างแบบใหม่ที่สมบูรณ์แบบ โดยใช้กรรมวิธีปั๊มขึ้นรูปโลหะและเชื่อมต่อเข้าด้วยกันซึ่งทันสมัยที่สุด ณ เวลานั้น ใช้เครื่องยนต์ขนาด 1,529 ซีซี และระบบกันสะเทือนหลังแบบแกนบิด นี่ยังไม่รวมถึงความซับซ้อนในส่วนอื่นๆ ของระบบขับเคลื่อนล้อหน้า สำหรับ André แล้ว เพียงแค่นี้ยังไม่พอ เขายังหลงใหลในความนุ่มนวลและประสิทธิภาพของระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ 'Sensaud de Laud' ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในช่วงนั้น จึงได้ซื้อลิขสิทธิ์ เพื่อนำมาใช้กับ Traction Avant แม้ว่าการทดสอบจะช่วยให้รถแล่นได้อย่างราบรื่น แต่ยังมีปัญหาการขับขี่ในสภาพฉุกเฉิน ขณะเดียวกันโรงงานของเขาเริ่มมีปัญหาเรื่องกำลังผลิต ช่วงต้นเดือนมีนาคม ปีค.ศ.1934 เมื่อครบกำหนดชำระสัญญาเงินกู้ระยะสั้น เขายังขาดเงินจำนวน 150 ล้านฟรังซ์ ที่ต้องชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ เขาพยายามหาเงินทุนเพิ่มเติม และได้ทำการสาธิตประสิทธิภาพ รถยนต์รุ่นใหม่ New 7CV 'Traction Avant' ให้กับผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ก็พบกับความล้มเหลวเพราะระบบเกียร์อัตโนมัติทำงานผิดพลาด ในที่สุดแล้ว บริษัทของเขาก็ถูกศาลพิพากษาให้อยู่ในฐานะล้มละลาย 'Michelin' ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ เข้ามาบริหารกิจการแทน André ที่เดินจากไป ไม่นานนักเขาเริ่มล้มป่วยลง เนื่องจากขาดกำลังใจที่จะต่อสู้ อาการเขาเริ่มทรุดลงอย่างรวดเร็ว และถึงแก่ความตายลง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1935 เหลือทิ้งไว้แต่เพียงรถยนต์ที่ใช้สัญลักษณ์ 'บั้งคู่' ซึ่งนำการปฏิวัติเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทั่วโลก และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ผลิตรถยนต์อื่นๆ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน



วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รถยนต์ที่มาจากฝรั่งเศส (บูกัตติ เวย์รอน)







ระหว่างปี 1909-1940 เอตโตเร และชอง บูกัตติ สองพ่อลูกได้สร้างผลงานที่เรียกว่าศิลปกรรมยานยนต์ทั้งในรูปแบบรถแข่งความเร็วสูง, รถสปอร์ต และรถยนต์นั่งระดับหรูหราออกมาได้เกือบ 8,000 ชิ้น แต่ละคันเรียกได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งเทคโนโลยี และสวยสุดๆทั้งนั้น มาคราวนี้ก็เป็นการหวนกลับมาของสัญลักษณ์ที่ว่านั้นอีกครั้งกับ "บูกัตติ เวย์รอน 16.4"

The Heritage of a Great Artist

     
ในปี 1909 เอตโตเร บูกัตติ - วิศวกรหนุ่มได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่เมืองเล็กๆ ที่ชื่อว่า Dorlisheim และได้พัฒนาแนวทางการออกแบบรถยนต์ในฝันของเขาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1910 บูกัตติเริ่มตั้งบริษัทขึ้นในโรงหล่อโลหะที่เลิกใช้แล้วใกล้ๆ กับเมือง Moisheim และวันนี้ บูกัตติกลับไปเริ่มต้นที่นั่นอีกครั้ง

Technological Perfection and Design

     รูปทรงของบูกัตติล้วนแต่เคยเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมด้วยฝีมือมนุษย์ นับตั้งแต่ผลงานการสร้างสรรค์ของ "เอตโตเร อาร์โค อิซีโดเร บูกัตติ" ผู้ก่อตั้งโรงงาน หรือไม่ก็เป็นฝีมือของบูกัตติผู้เป็นลูก "ชอง" ซึ่งสืบทอดสายเลือดพ่อเอาไว้อย่างเข้มข้น รถบูกัตติแต่ละคันล้วนสร้างกันด้วยมือจากแรงงานฝีมือดีราว 1,200 คนที่โรงงานอัลเซเชียน และกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมของบูกัตติจะกลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่งใน "บูกัตติ อีบี 16.4"

     บูกัตติ เวย์รอน 16.4 ได้ปรากฏตัวครั้งแรกในงานมอเตอร์โชว์ที่ IAA 2001 ที่แฟรงก์เฟิร์ต โดยออกมาเป็นตัวแบ็กอัพให้กับรถสปอร์ตคูเป้ รุ่น T57 SC"Ventoux" และ "Rouge Ventoux/Noir" ซื่งในครั้งนั้น EB16.4 ได้โชว์ความโดดเด่นของเทคโนโลยีโครงสร้างตัวถังที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ที่เป็นหลักประกันถึงความแข็งแกร่งของโครงสร้างน้ำหนักเบา ที่สามารถปกป้องชีวิตผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้พอๆกับรถฟอร์มูล่า 1

     เปลือกตัวถังภายนอกของ EB16.4 ยังคงเป็นอะลูมินัมครอบบนโครงสร้างคาร์บอนไฟเบอร์ขนาดฐานล้อ 2.7 เมตร ที่มีพื้นที่ใช้สอยในห้องโดยสารได้พอสะดวกสบาย แต่ที่แน่ๆก็คือในห้องโดยสารนั้น สุดแสนจะหรูหราด้วยหนังแท้

Style, Speed and Sensuality
     สมกับที่ ดร.เฟอร์ดินาน พิเอค - ประธานบอร์ดของโฟล์คสวาเก้นกรุ๊ปได้กล่าวเอาไว้ว่า "...ภาพลักษณ์ของบูกัตติที่จะกลับมาใหม่ก็คือเทคโนโลยี และนี่ก็คือสุดยอดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดของเรา ณ เวลานี้…"

     สิ่งที่นำมาศึกษาในปรัชญาในการออกแบบย้อนยุคของบูกัตติ ก็คือความสมดุลระหว่างความเป็นรถแข่งคลาสสิก เอกลักษณ์ของบูกัตติ การออกแบบและเทคโนโลยีต่างๆจึงสะท้อนภาพขยายไปยังอดีตอันรุ่งเรืองก่อน สงครามโลก ยุคที่หลุยส์ ชิรอน ชนะการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้รถสปอร์ตของบูกัตติเป็นที่โด่งดังมาก ดังนั้นเส้นสันของ EB Chiron จึงมีเค้าโครงที่ใกล้เคียงกับบูกัตติในอดีต ตัวถังความยาว 4.42 เมตร สูง 1.15 เมตร ทำขึ้นจากคาร์บอนไฟเบอร์ ดังปรัชญาของ เอตโตเร บูกัตติ - Less is more...น้ำหนักยิ่งน้อยยิ่งดี ส่วนแนวคิดที่มาจากชอง บูกัตติ ก็คือ ความงามของตัวถังที่เรียวยาว เครื่องยนต์ถูกวางไว้กลางลำตัวหลังเบาะนั่ง มองเห็นได้ผ่านกระจกหลัง ความเร็วท็อปสปีดควรจะเกิน 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ในการนี้จึงต้องมีการออกแบบให้มีสปอยเลอร์หลังที่ปรับได้ 3 ระดับเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้การควบคุมทำได้ดีขึ้น

     เพื่อให้รถเกาะถนนมากขึ้น จึงได้นำเอาระบบขับเคลื่อน 4 ล้อถาวรมาใช้ควบคู่ไปกับช่วงห่างระหว่างล้อกว้างเป็นพิเศษ

How do you approach a Legend?

     เมื่อครั้งที่มีการศึกษาบูกัตติ EB118 โฟล์คสวาเก้น กรุ๊ป ได้เข้ามาปลุกฟื้นคืนชีพให้บูกัตติโดยค้นหาในสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของบูกัตติ นั่นก็คือการศึกษาย้อนรอยไปถึงอดีตของบูกัตติในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถแข่ง, รถสปอร์ตทัวริ่งคาร์ ฯลฯ ที่อยู่ในช่วงทศวรรษ 1920-30 เพื่อนำมาเป็นคอนเซ็ปต์ในรถรุ่นใหม่

     ในที่สุดก็พบว่าแนวทางของเอตโตเร บูกัตตินั้น เป็นศิลปะในการสร้างรถยนต์ ที่พรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ EB118 จึงถูกนำมาศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาความเป็นไปได้ในการผลิตออกสู่ตลาด EB118 เป็นรถที่ออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ ยาวถึง 5.05 เมตร สูง 1.42 เมตร โครงสร้างเป็นสเปซเฟรม ใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อถาวรเพื่อการยึดเกาะถนนได้เต็มที่ พร้อมทั้งระบบกันสะเทือนมัลติลิงค์ ซึ่งก็ปรากฏว่า EB118 ตอบสนองข้อมูลต่างๆได้อย่างดีเยี่ยม ให้ความปลอดภัยสูง และมีความสะดวกสบายในการใช้งาน
Ultimate Performance in Elegance Harmony
     จากอิทธิพลที่ได้รับจากบูกัตติช่วงทศวรรษ 1920-30 ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็น EB218 เป็นรถซาลูนซึ่งมีรูปทรงรูปหยดน้ำ กระจังหน้าเอกลักษณ์รูปเกือกม้า ถึงจะเป็นรถซาลูนแต่ก็ให้ความรู้สึกแบบสปอร์ตตั้งแต่หัวจรดท้าย แม้ว่าจะมีขนาดใหญ่โตยาวถึง 5.37 เมตร กว้าง 1.99 เมตร แต่ EB218 ก็ครบถ้วนด้วยระบบขับเคลื่อนสี่ล้อถาวร ระบบกันสะเทือนมัลติลิงค์ทำด้วยอะลูมิเนียม โครงสร้างตัวถังเป็นสเปซเฟรม ถือว่าเป็น Top Luxury Class ของบูกัตติอีกคันหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในที่หรูหราด้วยหนังแท้เกรดเยี่ยม เข้าชุดกับวัสดุตกแต่งที่ทำมาจากไม้วอลนัท ตัดเส้นด้วยขอบคิ้วโลหะอย่างสวยงาม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่แนวความคิดที่ทรงอิทธิพลเหล่านี้จะถ่ายทอดมาปรากฏอยู่ใน บูกัตติ เวย์รอน 16.4
Creativity, Technology, Atr.

     หลังจากใช้เวลาในการพัฒนามาร่วม 4 ปี บูกัตติ เวย์รอน 16.4 ก็พร้อมเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตเพื่อจำหน่าย สิ่งที่รถสปอร์ตหนึ่งเดียวเจ้านี้เดินตามรอยเอกลักษณ์ที่เคยรุ่งเรืองของรถ แข่งในยุคทศวรรษ 1920-30
ในที่สุดงานออกแบบและพัฒนาที่เริ่มมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 ก็มาถึงขั้นสุดท้าย และได้คอนเซ็ปต์ใหม่ที่เป็นตัวของตัวเอง และพร้อมที่จะออกวางตลาดในปี 2004 ด้วยยอดการผลิตแสนจำกัดชนิดที่เรียกว่า Strictly Limited Edition เพียง 300 คัน เรียกว่าสุดยอดเทคโนโลยีแห่งอนาคตของบูกัตติ พร้อมแจ้งเกิดในศตวรรษที่ 21 แล้วในรุ่นนี้
Dynamism and Spirit in Perfect Harmony

     ในการออกแบบสำหรับรถที่จะผลิตจำหน่าย ได้คงความเป็นบูกัตติดั้งเดิมที่ศึกษาเอาไว้เป็นส่วนใหญ่ มีการปรับปรุงในรายละเอียดเพียงเล็กน้อย เช่น กระจกมองข้างทั้งซ้าย-ขวาได้ติดตั้งเอาไฟเลี้ยวรวมเข้าไว้ด้วยกัน สปอยเลอร์หลังที่สามารถปรับเลื่อนเข้า-ออกได้ ก็เพิ่มหน้าที่ในการช่วยเบรกชะลอความเร็วขึ้นมาอีกอย่าง นอกเหนือจากที่มีไว้เพื่อการทรงตัวที่ความเร็วสูงเพียงอย่างเดียว ล้อรถขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว พร้อมโลโก้ EB ติดไว้ตรงกลางคล้ายกับล้ออะลูมิเนียมในรถแข่งบูกัตติ Type 35 ที่ใช้แข่งในช่วงทศวรรษ 1930 กระจังหน้ารถรูปเกือกม้ายังคงโดดเด่นสะดุดตาเป็นช่องลมระบายความร้อนจากรังผึ้ง ไล่ไปทางด้านข้างก็จะมีช่องลมขนาดใหญ่ทำหน้าที่ดักลมจากบริเวณหน้าล้อหลัง เพื่อให้แน่ใจในประสิทธิภาพการระบายความร้อนยามที่ต้องใช้ความเร็วสูง นอกจากนี้แล้วยังมีช่องลมอีก 2 ช่องอยู่หลังล้อหน้าอีกด้วย

     บูกัตติ เวย์รอน 16.4 ยังคงเอกลักษณ์ในการให้สีสันบนตัวถัง นั่นคือการใช้สีแบบ 2-Tone โดยสีที่ใช้จะมาเป็นคู่ๆ คือสีบริเวณกระโปรงหน้า, หลังคา ไปจรดด้านท้ายจะเป็นสีเข้ม ส่วนอีกสีที่อ่อนกว่าจะใช้บริเวณด้านข้างและแก้มบังโคลน

     ในส่วนของกระจังหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองแล้ว ไฟหน้าจะเรียงเป็นแถวยาวเฉียงเข้าไปทางด้านข้าง และที่เป็นเอกลักษณ์ของบูกัตติอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะเป็นรถที่มีระยะโอเวอร์แฮงก์หรือว่าหน้ารถสั้น และบังโคลนใหญ่
ในส่วนของพื้นรถ ถูกออกแบบเพื่อใช้แรงกดของอากาศอย่างเต็มที่ขณะใช้ความเร็วสูง นอกจากพื้นจะเรียบแล้ว ยังมีผลในการรีดกระแสลมเพื่อสร้างแรงกดกับตัวรถ นอกจากนั้นส่วนท้ายของรถยังมีสปอยเลอร์ฝังเอาไว้ เมื่อความเร็วของรถสูงถึงระดับหนึ่ง สปอยเลอร์ก็จะยื่นออกไปทางด้านท้ายราว 20 ซม.และยกขึ้นตามความเร็ว สปอยเลอร์นี้จะยังไม่ถูกเก็บเข้าที่ทันทีที่จอดรถและดับเครื่องยนต์ แต่มันจะเปิดให้ช่วยระบายอากาศออกจากห้องเครื่องยนต์อยู่พักหนึ่งก่อน


ส่วนท้ายของบูกัตติ เวย์รอน 16.4 สดเด่น
ภายในของ EB118 หรูหราด้วยหนังแท้เกรดเยี่ยม เข้าชุดกับวัสดุตกแต่งลายไม้วอลนัท
Exclusive Classical Function

     การตกแต่งภายในของบูกัตติ เวย์รอน 16.4 ไม่มีซ้ำแบบใครและอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้เต็มที่ ภายในตกแต่งด้วยหนังแท้เกรดเยี่ยมและใช้สี 2-Tone เช่นเดียวกับภายนอก แล้วตัดด้วยเส้นโลหะชั้นดี ส่วนบรรดาปุ่มสวิตช์ควบคุมต่างๆก็ออกแบบได้ถูกต้องตามหลักสรีระ และจัดวางในตำแหน่งที่สวยงาม

     บนแผงหน้าปัดของบูกัตติ เวย์รอน 16.4 ประกอบด้วยมาตรวัดรอบเครื่องยนต์ขนาดใหญ่เป็นหลัก รายล้อมด้วยมาตรวัดเล็กๆที่จำเป็นอีก 4 ตัว แน่นอนว่าจุดนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่ถูกเน้นบรรยากาศแห่งความเป็นรถสปอร์ตและ สายเลือดรถแข่งด้วยการตกแต่งที่ใครเห็นแล้วก็ต้องทึ่ง คือทั้งสวย ทั้งเป็นเอกลักษณ์
High Performance - but Safe

     ตัวรถถูกเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยระดับสูง เพื่อให้สมดุลกับสมรรถนะสุดยอดของตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเร่งหรือว่าความเร็วปลาย ตัวถังรถเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ชิ้นเดียวที่นำมาสร้างเป็นตัวถังแบบโมโนค็อก ความแกร่งของคาร์บอนไฟเบอร์เป็นที่ยอมรับว่าทนทานต่อการชนกระแทกได้ในระดับ สูงสุด ถุงลมนิรภัย 2 ชุดสำหรับผู้ขับและผู้โดยสารเป็นอุปกรณ์เสริมมาอีกชั้น ยางที่ใช้กับบูกัตติ เวย์รอน 16.4 เป็นยางไฮสปีดที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับรถรุ่นนี้โดยเฉพาะ สำหรับใช้ความเร็วเกิน 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขนาด 265-68R500A ที่ล้อหน้า และ 365-71R540A ที่ล้อหลัง นอกจากนี้แล้ว ภายในยางยังติดตั้งระบบ PAX ที่ช่วยให้รถแล่นได้ แม้ลมยางจะลดแรงดันกะทันหัน อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอีกอย่างหนึ่งที่มีให้ก็คือสปอยเลอร์หลัง ซึ่งปกติจะเป็นตัวช่วยเพิ่มแรงกดและช่วยในการทรงตัวของรถที่ความเร็วสูง แต่ความพิเศษของสปอยเลอร์นี้ก็คือ ในยามฉุกเฉิน มันสามารถช่วยลดความเร็วของรถได้เช่นเดียวกับเบรกร่ม (Parachute Brake)
The Art of Machine

     เครื่องยนต์ที่บูกัตติพัฒนาขึ้นมาใช้กับบูกัตติ เวย์รอน 16.4 เป็นเอกลักษณ์อันหนึ่งซึ่งจะปรากฏในประวัติศาสตร์ของโลกยานยนต์ นั่นคือการนำเอาเครื่องยนต์ W16 สูบ ทำด้วยอะลูมินัมอัลลอยมาใช้ เครื่องยนต์นี้เป็นเครื่อง V8 90 องศา 2 เครื่องวางขนานกัน

     พลังเครื่องยนต์มหาศาล 1,001 แรงม้า หรือ 736 กิโลวัตต์ คือผลงานสูงสุดที่ปั๊มออกมาจากเครื่องยนต์นี้ และแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 128.0 กก.-ม. ทำให้อัตราเร่งของรถเป็นสิ่งที่หาตัวจับได้ยากสำหรับรถสปอร์ตด้วยกัน เช่น 0 -100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเวลาเพียง 3 วินาที และผ่านความเร็วระดับ 300 ในเวลาต่ำกว่า 14 วินาที และหากใจถึงพอที่จะกดคันเร่งต่อไปจะสิ้นสุดความเร็วปลายที่ 406 กิโลเมตรต่อชั่วโมง! หากไม่ติดข้อจำกัดในด้านโครงสร้างของตัวรถ ความเร็วปลายยังสามารถจะเพิ่มไปได้อีก

     ระบบส่งกำลังของรถคันนี้ก็เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง นั่นคือการใช้ระบบเกียร์ไดเร็กต์-ชิฟต์ 7 สปีด ซึ่งเป็นนวัตกรรมของบูกัตติ สามารถลดการสูญเสียการถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังระบบขับเคลื่อน 4 ล้อถาวรได้ การเปลี่ยนเกียร์เป็นแบบไล่เรียงลำดับขึ้นหรือลง (Sequential) เท่านั้น การเปลี่ยนเกียร์ที่ทำได้ง่ายแบบนี้ ทำให้ความรู้สึกในการเร่งออกตัวไปจนสิ้นสุดความเร็วปลาย เขาบอกว่าเหมือนกับการขับเครื่องบินไอพ่นนั่นแหละ
Merging the Past and The Future
     โรงงานผลิตบูกัตติ เวย์รอน 16.4 อยู่ระหว่างเมือง Molsheim-Dorlisheim เมืองเล็กๆของฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อเกือบ 100 ปีก่อน เอตโตเร บูกัตติ ได้มาสร้างความฝันให้เป็นความจริงขึ้นที่นี่

     สำหรับโรงงานแห่งใหม่ไม่เพียงแต่จะเป็นที่ประกอบรถและทดสอบเท่านั้น แต่เป็นที่ที่ผู้ที่สะสมรถบูกัตติจะขับรถบูกัตติออกสู่ถนนครั้งแรกได้จากที่นี่

     Molsheim ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางของรถบูกัตติอีกครั้ง ที่นี่จะมีการสร้างรถบูกัตติด้วยแรงงานช่างฝีมือราว 70 คันต่อปี ในโรงงานแห่งใหม่ ใกล้ๆกันก็จะเป็นโรงงานปรับสภาพรถบูกัตติรุ่นเก่าๆในประวัติศาสตร์ของบูกัตติ ทั้งบูกัตติเก่าและใหม่ก็จะมาพบกันที่บ้านใหม่แห่งนี้
   
ข้อมูลเทคนิค บูกัตติ เวย์รอน 16.4


เครื่องยนต์V8 4 วาล์วต่อสูบ 2 เครื่องวางขนานกันเป็น W16 มีซูเปอร์ชาร์จ 4 ตัว
ตำแหน่งเครื่องยนต์วางตามยาวตัวรถ กลางลำตัว
จำนวนกระบอกสูบ16
ความจุกระบอกสูบ7,993 ซี.ซี.
กระบอกสูบ x ช่วงชัก86 x 86 มม.
กำลังเครื่องยนต์736 kW /1,001 แรงม้า @ 6000 rpm
แรงบิดสูงสุด128.0 กก.-ม. @ 2,200-5,500 rpm
อัตราส่วนแรงอัดในกระบอกสูบ9.0 : 1
ระบบส่งกำลังและขับเคลื่อน
เกียร์7 สปีด เปลี่ยนเกียร์แบบเรียงลำดับ (Sequential shifting)
ล้อขับเคลื่อน4 ล้อแบบถาวร
ล้อหน้า (โลหะน้ำหนักเบา) ขนาด255x500A ยาง 265-690R 500A
ล้อหลัง (โลหะน้ำหนักเบา) ขนาด355x540A ยาง 365-710R 540A
ตัวถัง
โครงสร้างตัวถังโมโนค็อกทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ซับเฟรมทำด้วยอะลูมิเนียม
เปลือกตัวถังทำจากอะลูมิเนียม และคาร์บอนไฟเบอร์
ความยาว4,466 มม.
ความกว้าง1,998 มม.
ความสูง1,206 มม.
ฐานล้อ2,700 มม.
ช่วงล้อหน้า1,723 มม.
ช่วงล้อหลัง1,632 มม.
สมรรถนะ
ความเร็วสูงสุด406 กม./ชม.
0-300 กม./ชม.ต่ำกว่า 14.0 วินาที

เพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รถยนต์ที่มาจากฝรั่งเศส (เปอโยต์)

Peugeot

เปอโยต์ (ฝรั่งเศส: Peugeot) เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ที่เก่าแก่ในโลก สัญลักษณ์ของเปอร์โยต์เป็นรูปสิงโตยืนสองขา ตระกูลเปอโยต์ใช้ตรานี้เป็นเครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ปี 1858 ที่มาของสัญลักษณ์นี้ คือตราประจำเมืองเบลฟอร์ต(BELFORT) ซึ่งเป็นเมืองที่โรงงานแห่งหนึ่งของเปอโยต์ตั้งอยู่ และกลายมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายสำคัญของฝรั่งเศส เปอรยต์ยังเคยเป็นผู้ผลิตจักรยานสองล้อด้วย เปอโยต์ ในปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายหนึ่งในจำนวนสองรายของกลุ่มธุรกิจ เปอโยต์ กรุพ (PEUGEOT S.A.) คู่กับ ออโทโมบิล ซีตรอง ผู้ผลิตรถซีตรอง ในรอบปี 1990 เปอโยต์ผลิตรถยนต์นานาชนิดออกสู่ตลาดทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.4 ล้านคัน รถที่ผลิตมากที่สุดคือ เปอโยต์ 205 รองลงไปคือ เปอโยต์ 405 และเปอโยต์ 309 โดยส่วนรวม กลุ่ม เปอโยต์/ซีตรองเป็นผู้ผลิตรถยนต์นั่งรายใหญ่เป็นอันดับสามของยุโรป รองจากกลุ่มโฟล์คสวาเกน เอาดี เซอาท ของเยอรมนี และกลุ่มเฟียตลันชิดา อัลฟา โรเมโอ ของอิตาลี ในรอบปี 1990 กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ขายรถยนต์นั่งในยุโรปได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.7 ล้านคัน


Peugeot  SR1 รถแนวคิดสไตล์ Roadster ระบบไฮบริด 2+1 ที่นั่ง 313 แรงม้า


Peugeot 908 RC Concept Car

Peugeot 20Cup Concept Car











เพิ่มเติม

อยากดูหลายๆรุ่น คลิก

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เพลงคริสต์มาส ฝรั่งเศส


Vive le vent
Vive le vent, vive le vent, vive le vent d’hiver
Qui s’en va sifflant, soufflant
Dans les grands sapins verts…?
Vive le temps, vive le temps, vive le temps d’hiver
Boules de neige et Jour de l’An
Et Bonne Ann?e Grand-m?re!
Ah! que la neige est belle
Qui nous arrive du ciel
Voici le temps d’No?l
Gloire ? l’Emmanuel!
Je vous offre mes voeux
Acceptez-les tous deux
Soyez toujours heureux
Comme l’?taient nos a?eux! Refrain
Refrain (Variation)
Tintez cloches, tintez cloches
Tintez dans la nuit
P?re No?l et ses grands daims
Arrivent ? fond de train.
Tintez cloches, tintez cloches,
Tintez dans la nuit
Le miracle recommence
R?ve de tout-petits.
มีแต่เนื้อน่ะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บัตรต่างๆที่ใช้ในฝรั่งเศส (ตอนที่ 7)

Une carte grise est le certificat de propriété d'un véhivule. [les papiers pour les conduteurs]

ใบขับขี่หรือทะเบียนใบรับรองทรัพย์สินรถยนต์





เพิ่มเติม

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บัตรต่างๆที่ใช้ในฝรั่งเศส (ตอนที่ 4)

une carte de sé jour pour les étrangers qui restent a Paris plus de 3 mois.

บัตรสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อาศัยอยู่ที่ปารีสได้ 3 เดือน





เพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บัตรต่างๆที่ใช้ในฝรั่งเศส (ตอนที่ 2)

une carte Inter-Rail pour les jeunes moins de 26 ans qui recoivent un tarif reduit.

บัตรรถไฟสำหรับ วันรุ่น ที่อายุน้อยกว่า 26 ปี จะได้รับส่วนลด




เพิ่มเติม

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การดูหนังในโรงหนังของฝรั่งเศส

ถ้าตั๋วเต็มราคาก็ประมาณ 10 € 

รอบเช้าสุด ราคาถูก 6 € ถ้าเป็น นักศึกษา ก็ถูกลงมาประมาณ 6-7 € ครับ แต่ถ้าเป็นแฟนหนังก็จะมีแบบ สมัครสมาชิคเป็นรายปีและจ่ายเป็นรายเดือนไปเรื่ิอยๆตลอดหนึ่งปี และจะเข้าดูกี่รอบก็ได้ ถ้าโรงเค้าไม่เต็มนะครับ เดือนหนึ่งก็คงจะประมาณ 20€ / เดือน ถ้าเป็นการ์ดพิเศษแบบ เข้าได้สองคนก็ 35 € / เดือน ส่วน โรงหนังก็มีให้เลือกดูแบบ Sub Title ให้


รายละเอียดเพิ่มเติม ของ โรงหนัง UGC :
ราคาอัตราค่าเข้าชม

Avant 12h : 5,90 € tous les jours avant midi Première(s) séance(s) du matin
 18 ans : 5,90 € sur présentation d’un justificatif Groupes et Scolaires : 5,90 € par personne ( + 1 accompagnateur gratuit toutes les 10 personnes) minimum de 20 personnes
Etudiants / Apprentis : 6,80 € Du dimanche 19H au Vendredi 19H / Sauf veille de fête (jusqu’à 19h) et jour de fête (à partir de 19h) sur présentation de la carte d’étudiant
Autres billets : 9,90 €
Carte UGC Illimité : 19,80 € par mois, valable tous les jours pour toutes les séances - Consommation illimitée. + de 600 films par an dans plus de 700 salles UGC et partenaires en France. Tarif et conditions d’abonnement susceptibles d’être modifiés à tout moment.
UGC Illimité 2 : 35 € par mois, valable tous les jours pour toutes les séances - Jusqu’à 2 places par séance, en consommation illimitée. + de 600 films par an dans plus de 700 salles UGC et partenaires en France. Tarif et conditions d’abonnement susceptibles d’être modifiés à touFR
Carte UGC SOLO : valable tous les jours, jusqu’à expiration de la date de validité.
Carte UGC 5 : 29,25 € 5 places valable du dimanche 19H au vendredi 19H
Carte UGC 7 : 39,00 € 5 places, valable tous les jours.



วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

10 สถานที่ ในปารีส

10 สถานที่ ที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเยือนปารีส
1. การนั่งรถทัวร์ชมกรุง (Double Decker Bus Tour)
การนั่งรถทัวร์ชมกรุงเป็นสิ่งที่คุณควรทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวที่มาปารีสเป็นครั้งแรก เพราะที่นี่จะมีรถทัวร์ที่เรียกกันว่า L'Open ทัวร์ ซึ่งเป็นรถทัวร์ที่มีดาดฟ้าอยู่ข้างบน เพื่อให้คุณได้ชมเมืองปารีสอย่างไม่มีอะไรบดบังสายตาเลย นักท่องเที่ยวสามารถซื้อตั๋ววันเดียวหรือสองวันก็ได้ สำหรับการนั่งรถชมเมืองใน 4 เส้นทาง โดยทันทีที่คุณซื้อตั๋วแล้ว ทางรถทัวร์จะมีชุดหูฟังให้คุณ เพื่อใช้ในการเสียบต่อกับแจ็คที่อยู่บริเวณด้านข้างของเบาะที่นั่ง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถฟังบรรยายไปตลอดการเดินทาง โดยเลือกฟังได้ถึง 8 ภาษา คือ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอิตาลี ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษารัวเซีย และภาษาจีน
สำหรับเคล็ดลับในการนั่งรถทัวร์ชมกรุงปารีสนั้น แนะนำให้คุณลองใช้บริการในวันธรรมดาหรือเช้าวันหยุดสุดสัปดาห์จะดีที่สุด เพราะหากใช้บริการในช่วงเวลาอื่นคนจะแน่นมาก และคุณอาจจะได้ยืนในห้องยืนที่จัดไว้รองรับเวลาที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก นอกจากนี้ หากคุณใช้บริการช่วงคนน้อย คุณสามารถที่จะเปลี่ยนแจ็กหูฟังของคุณได้ในกรณีที่ใช้หูฟังต่อกับแจ็กบางตัวไม่ได้อีกด้วย
2. ชมทิวทัศน์จากด้านบนของหอไอเฟล (Eiffel Tower)
หอไอเฟลไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองปารีสเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสด้วย ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวคนใดไม่ได้ไปเยือนหอไอเฟล ถือว่าไปไม่ถึงฝรั่งเศสเลยทีเดียว ทำให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวกว่า 60 ล้านคน ไปเยือนหอไอเฟล โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นชมทัศนียภาพรอบกรุงปารีสได้ เพียงแค่ซื้อบัตรที่บูธซึ่งอยู่บริเวณฐานของหอไอเฟล แล้วขึ้นลิฟท์ไปยังชั้นต่าง ๆ ของหอไอเฟล
และด้วยความที่หอไอเฟลมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน) แนะนำให้คุณไปเที่ยวชมช่วงเช้าหรือหลัง 6 โมงเย็น หรือในวันธรรมดา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรอคิวเป็นเวลานาน

3. ล่องเรือในแม่น้ำเซน ชมพระอาทิตย์ตกดิน (Sunset River Cruise on the Seine)
การล่องเรือในยามใกล้ค่ำเป็นทางเลือกที่ดีมาก หากคุณอยากจะชมทิวทัศน์ยามราตรีของกรุงปารีส โดยเรือจะล่องจากหอไอเฟล ผ่านสถานที่ที่น่าสนใจสองฝั่งแม่น้ำเซน รวมถึงผ่านโบสถ์นอทเทอร์ดัมด้วย
สำหรับเคล็ดลับของการนั่งเรือชมพระอาทิตย์ตกดินนั้น แนะนำให้คุณไปก่อนเวลาขายตั๋ว เพื่อที่จะได้เลือกที่นั่งหลังก่อนนักท่องเที่ยวคนอื่น ซึ่งที่นั่งด้านหลังสุดนี้จะเป็นบริเวณที่ไม่มีหลังคา ไม่ล้อมด้วยกระจก และบริเวณนี้คือจุดที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพสวย ๆ ของเมืองปารีสยามพระอาทิตย์ตก

4. โบสถ์นอทเทอร์ดัม (Notre Dame Cathedral) โบสถ์นอทเทอร์ดัมเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของกรุงปารีส เพราะเป็นสถานที่ที่อยู่คู่กับเมืองปารีสมาช้านาน และมีชื่อเสียงด้านความใหญ่โตหรูหรา มีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก โดยการเที่ยวชมนั้นนักท่องเที่ยวจะได้เห็นความอลังการของโบสถ์นอทเทอร์ดัม อีกทั้งยังต้องขึ้นบันได 387 ขั้นเพื่อไปถึงยอดของโบสถ ส่วนเคล็ดลับในการชมโบสถ์นอทเทอร์ดัมนั้น แนะนำให้คุณไปเยี่ยมชมช่วงเช้า เพราะดวงอาทิตย์จะส่องกระทบกับซุ้มประตูทางทิศตะวันตกของโบสถ์ มองดูแล้วเหมือนเป็นประกายเพชรที่ระยิบระยับจับตา เพิ่มความหรูหราให้กับโบสถ์ได้เยอะเลยทีเดียว
5. โบสถ์แซงต์ ชาแปลล์ (Sainte Chapelle)
ถัดจากโบสถ์นอทเทอร์ดัม มีโบสถ์แซงต์ ชาแปลล์ ซึ่งเป็นโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวปารีส สร้างในสไตล์กอธิค มีการประดัประดาด้วยกระจกสวยงามมากมาย จนนักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมต่างยอมรับว่ากระจกที่ใช้ตกแต่งโบสถ์มีความงดงามที่สุด ยิ่งเมื่อแสงจากภายนอกส่องเข้ามา ยิ่งทำให้มองเห็นลายกระจกชัดเจนและสวยงามมาก
สำหรับคำแนะนำในการเยี่ยมชม ควรเยี่ยมชมช่วงเช้าดีที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวไม่เยอะ หากไปช่วงอื่นต้องรอคิวเยี่ยมชม เพราะโบสถ์แซงต์ ชาแปลล์เป็นโบสถ์ขนาดเล็กมาก
6. ถนนฌ็องเซลิเซ่ และประตูชัยนโปเลียน (Champs Elysees & Arc de Triomphe)
ถนนฌ็องเซลิเซ่ เป็นถนนที่มีความสวยงามและมีชื่อเสียงที่สุดในกรุงปารีส นักท่องเที่ยวสามารถเดินตามถนนสายนี้ไปสู่ประตูชัยนโปเลียน ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส และที่นี่นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมชั้นบนของประตูชัยได้ โดยเดินขั้นบันได 284 ขั้น หรือใช้ลิฟต์

7. เลแซงวาลิด (Les Invalides (Napoleon's Tomb))
เลแซงวาลิด เป็นอาคารที่ฝังพระศพของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ซึ่งมีศพนายพลพระสหายของพระเจ้านโปเลียนอีกหลายคนฝังอยู่ด้วย ตัวอาคารมีโดมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นโดมที่สวยงามที่สุดในกรุงปารีส นอกจากนี้ ยังมีศิลปะมากมายจัดแสดงอยู่ในนั้นอีกด้วย
8. พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ (Musee d'Orsay)
พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมศิลปะหลายอย่างเข้าด้วยกัน อันได้แก่ ศิลปะด้านการออกแบบสิ่งทอ ศิลปะทางประวัติศาสตร์ ภาพถ่าย ประติมากรรม ซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ของปารีสออกมาได้เด่นชัดเลยทีเดียว
สำหรับเคล็ดลับในการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ ควรใช้เวลามากหน่อยเพื่อศึกษาศิลปะต่าง ๆ ที่จัดแสดงอยู่ทั้ง 3 ชั้นของพิพิธภัณฑ์ และที่ไม่ควรพลาดคือ ร้านอาหารที่มีหน้าต่างกระจกบานใหญ่ ให้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำเซนได้อย่างเต็ม ๆ ตา

9. พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (The Louvre)
เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นพระราชวังหลวงมาก่อน จัดแสดงศิลปะที่มีคุณค่าระดับโลกมากมาย เช่น ภาพเขียนโมนาลิซ่า ผลงานของต่าง ๆ ของเลโอนาร์โด ดาวินซีแลอเล็กซานดรอส นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ที่นี่ยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมมากที่สุดในกรุงปารีส ดังนั้น คุณจึงไม่ควรพลาดในการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ลูฟร์แห่งนี้

10. มงต์มาร์ทร์ (Montmarte & Sacre Couer Basilica)
มงต์มาร์ทร์เป็นหุบเขาสูง 130 เมตร ทางเหนือของปารีสและเป็นจุดที่สูงที่สุดของเมือง บนเขาเป็นที่ตั้งของโบสถ์ซาเครเกอร์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่อุทิศแด่ชาวฝรั่งเศส ที่เสียชีวิตจากสงครามกับปรัสเซีย ออกแบบตามแบบศิลปะสไตล์โรมัน - ไบเซนไทน์ ซึ่งมีความอลังการและงดงามมาก